วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550







พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 25501 พ.ร.บ ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
พระราชบัญญัติตินี้ จะส่งผลกระทบผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะส่งผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตหรือกลุ่มพนักงาน นิสัติ นักศึกษาในองส์กรผูรับผิดชอบมีหน้าที่ดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ"ผู้ให้บริการ"









ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้

1 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อืนโดยมิชอบ
2 การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ คอมพิวเตอร์ที่ผู้อืนจัดทําขึนเป็นการเฉพาะ
3 การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทีผู้อืนจัดทําขึนเป็นการเฉพาะ
4 การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อืน
5 การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลียนแปลง เพิมเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
6 การกระทําเพือให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อืนไม่สามารถทํางานได้ตามปกติ
7 การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอืนโดยปกติสุข
8 การจําหน่ายชุดคําสังทีจัดทําขึนเพือนําไปใช้เป็นเครืองมือในการกระทําความผิด
9 การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอืนผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
10 การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล

ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือ บุคคลใด

ผู้ให้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพือให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชือนามสกุล เลขประจําตัวประชาชน USERNAMEหรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า วัน
นับตังแต่การใช้บริการสินสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง500000บาทต่อไปไม่ว่าจะไปใช้งานอินเทอร์เน็ตทีตรงจุดใดจะต้องมีการแจ้งลงทะเบียนโดยต้องใส่ usernameและ passwordเพือให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถเก็บบันทึกการเข้ามาใช้งานของได้รวมถึงเว็บบอร์ดทังหลาย ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติง
หรือผู้ทําอาชีพเกียวกับคอมพิวเตอร์อาจเสียงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านันพระราชบัญญัตินี จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทัวไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ คือผู้ให้บริการซึงรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อืนหรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กร
ผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"

ผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ.นี้ สามารถจําแนก ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1 ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสือสารไร้สาย
2 ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทังผ่านสายและไร้สาย
หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทีจัดตังขึนในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
3 ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host ServiceProvider)
4 ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆทีเรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ webboard หรือweb service เป็นต้น

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนีเพราะอาจจะทําให้ “เกิดการกระทําความผิด"
ตาม พรบ.นี้

1. ไม่ควรบอก password แก่ผู้อื่น
2 อย่าให้ผู้อืนยืมใช้เครืองคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลือนทีเพือเข้าเน็ต
3.อย่าติดตังระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4 อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และ passwordทีไม่ใช่ของท่านเอง
5. อย่านํา user ID และ passwordของผู้อืนไปใช้งานหรือเผยแพร่
6. อย่าส่งต่อซึงภาพหรือข้อความหรือภาพเคลือนไหวทีผิดกฎหมาย
7. อย่า กด "remember me"หรือ "remember password"ทีเครืองคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า log-in เพือทําธุรกรรมทางการเงินทีเครืองสาธารณะ
8. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล

ความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขาแล้วเราแอบเข้าไปจําคุก 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10000บาท หรือทังจําทังปรับ
2 ไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อืนแล้วไปยังไปบอกให้คนอืนรู้ ต่อจําคุกไม่เกิน2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000บาท หรือทังจําทังปรับ
3 แอบไปเจาะข้อมูลของผู้อืนทีเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จําคุกไม่เกิน 2ปี หรือปรับไม่เกิน 40000บาท หรือทังจําทังปรับ
4 แอบไปดักจับข้อมูลผู้อืนระหว่างการสือสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์จําคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60000บาท หรือทังจําทังปรับ
5 ไปแก้ไขข้อมูลของในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อืนจําคุกไม่เกิน5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100000 บาทหรือทังจําทังปรับ
6 ส่ง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ wormหรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อืน
จําคุกไม่เกิน5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100000 บาท หรือทังจําทังปรับ
7. ส่งข้อมูลหรืออีเมล์ ให้ผู้อืนซ้าๆ โดยผู้รับไม่ได้ร้องขอปรับไม่เกิน 100000 บาท
8. ความผิดผิดข้อ 5 กับ ข้อ 6ทําให้บุคคลทัวไปเกิดความเสียหาย
จําคุกไม่เกิน10 ปีและปรับไม่เกิน 200000 บาทหากก่อความเสียหายต่อความมันคงของประเทเศรษฐกิจ
และสังคมจําคุกตังแต่ 3-5 ปี และปรับตังแต่ 60000 - 300000 บาท
และถ้าทําให้ใครตายก็จะเพิมโทษเป็น .. จําคุกตังแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพือทําให้ทําความผิดในหลายข้อข้างต้นจําคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาทหรือทังจําทังปรับ
10. สร้างภาพโป๊ เรืองเท็จ ทําการปลอมแปลง กระทําการใดๆทีกระทบความมันคง ก่อการร้าย และส่งต่อข้อมูลทังๆทีรู้ว่าผิดตามทีกล่าวมาข้างต้น …จําคุกไม่เกิน 5ปี หรือปรับไม่เกิน 100000 บาท
หรือทังจําทังปรับ
11. เจ้าของเว็บ สนับสนุน / ยินยอมให้เกิดข้อ 10จําคุกไม่เกิน5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100000บาทหรือทังจําทังปรับ
12. เอารูปผู้อืนมาตัดต่อแล้วเอาไปเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์จําคุกไม่เกิน 3ปีหรือปรับไม่เกิน 60000บาท หรือทังจําทังปรับ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

 อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)

สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net
Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง
Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย
เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต เป็นคำที่รู้จักหรือได้ยินกันบ่อยครั้งมาก เว็บเพจต่อไปนี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และการใช้งาน เนื้อหาประกอบด้วย 9 ส่วน ได้แก่
o อินเทอร์เน็ตคืออะไร?
o ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
o ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
o เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร?
o กลไกการทำงานของ SLIP/PPP
o อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
o ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต
o บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต
o โทษของอินเทอร์เน็ต

ผังแสดงการเชื่อมต่อ internet














ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
1.อุปกรณ์
1.1) คอมพิวเตอร์
1.2) โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
• โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
• โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1
• PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด

โมเด็มชนิดติดตั้งภายในและภายนอก
โมเด็มแบบ PCMCIA

2.วิธีการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

*แสดงการเชื่อมต่ออินเทอเน็ตผ่านสายโทรศัพท์

เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูกขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษีกลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนักพอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอกจากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับอินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่ 4 วิธี
o การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารอบรมนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก
o การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดยตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็นภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง
o การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection) การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียงจอของเครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแต่ประการใด แต่ในขณะที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่องไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจากบทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอช การติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่องจากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอาข้อมูลชนิดอื่นมาได้
o การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือนกับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียงไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์ หรืออีเมล์เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เราใช้ได้ก็คือ ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์
• ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
• อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
• การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

• เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

• IP Address

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส
คำว่าไอพีแอดเดรส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต
ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์

11101001 11000110 00000010 01110100

• แต่เมื่อต้องการเรียกไอพีแอดเดรสจะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น

11001011 10010111 00101110 00010011
203 . 151 . 46 . 19

• เมื่อตัวเลขไอพีแอดเดรสจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้ไอพีแอดเดรสเริ่มหายากขึ้น
• การกำหนดไอพีแอดเดรสเน้นให้องค์กรจดทะเบียนเพื่อขอไอพีแอดเดรสและมีการแบ่งไอพีแอดเดรส ออกเป็นกลุ่มสำหรับองค์กร เรียกว่า คลาส โดยแบ่งเป็น คลาส A คลาส B คลาส C
• คลาส A กำหนดตัวเลขในฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์ให้องค์กรเป็นผู้กำหนด ดังนั้นจึงมีไอพีแอดเดรสในองค์กรเท่ากับ 256 x 256 x 256
• คลาส B กำหนดตัวเลขให้ สองฟิลด์ ที่เหลืออีกสองฟิลด์ให้องค์กรเป็นผู้กำหนดดังนั้นองค์กรจึงมีไอพีแอดเดรส ที่กำหนดได้ถึง 256 x 256 = 65536 แอดเดรส

คลาส C กำหนดตัวเลขให้สามฟิลด์ที่เหลือให้องค์กรกำหนดได้เพียงฟิลด์เดียว คือมีไอพีแอดเดรส 256
• เมื่อพิจารณาตัวเลขไอพีแอดเดรส หากไอพีแอดเดรสใดมีตัวเลขขึ้นต้น 1-126 ก็จะเป็นคลาส A ดังนั้นคลาส A จึงมีได้เพียง 126 องค์กรเท่านั้น หากขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B เช่น ไอพีแอดเดรสของกรมราชทัณฑ์ขึ้นต้นด้วย 158 จึงอยู่ในคลาส B และหากขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C
• ลักษณะการใช้ไอพีแอดเดรสในองค์กรจึงมีวิธีการจัดสรรและกำหนดเพื่อให้ใช้งาน แต่เนื่องจากหลายหน่วยงานติดขัดด้วยจำนวนหมายเลขที่ได้รับ เช่นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ได้รับคลาส C จึงย่อมสร้างความยุ่งยากในการสร้างเครือข่าย

• สำหรับกรมราชทัณฑ์ที่มีไอพีคลาสซี จึงได้แบ่งและจัดสรรไอพีแอดเดรสให้กับหน่วยงานต่างๆได้อย่างพอเพียง
• ไอพีแอดเดรสแต่ละกลุ่มที่ได้รับการจัดสรร จะได้รับการควบคุมการกำหนดเส้นทางโดยอุปกรณ์จำพวก เราเตอร์ และสวิตชิ่ง
• ทำนองเดียวกัน หน่วยงานย่อยรับแอดเดรสไปเป็นกลุ่มก็สามารถนำไอพีแอดเดรส ที่ได้รับไปจัดสรรแบ่งกลุ่มด้วยอุปกรณ์เราเตอร์หรือ สวิตชิ่งได้ การกำหนดแอดเดรสจะต้องอยู่ภายในกลุ่มของตนเท่านั้น มิฉะนั้นอุปกรณ์เราเตอร์จะไม่ สามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้
• ไอพีแอดเดรสจึงเป็นรหัสหลักที่จำเป็นในการสร้างเครือข่าย เครือข่ายทุกเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดแอดเดรส สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดสรรกลุ่มไอพีไว้ให้หน่วยงานต่างๆอย่างพอเพียงโดยที่แอดเดรสทุกแอดเดรสที่ใช้ใน กลุ่ม เช่น การเซตให้กับพีซีแต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน รหัสไอพีแอดเดรสจึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มีค่าสำหรับองค์กร
• หากองค์กร เรามีไอพีแอดเดรสไม่พอ หรือขาดแคลนไอพีแอดเดรสจะทำอย่างไร เช่นมหาวิทยาลัย ก. เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แต่ได้คลาส C ซึ่งมีเพียง 256 แอดเดรสแต่มีผู้ที่จะใช้ไอพีแอดเดรสเป็นจำนวนมาก

• สิ่งที่จะต้องทำคือ มหาวิทยาลัย ก. ยอมให้ภายนอกมองเห็นไอพีแอดเดรสจริงตามคลาส C นั้น ส่วนภายในมีการกำหนดไอพีแอดเดรสเอง โดยที่ไอพีแอดเดรสที่กำหนดจะต้องไม่ปล่อยออกภายนอก เพราะจะซ้ำผู้อื่นผู้ดูแลเครือข่ายต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่อง เป็นตัวแปลงระหว่างแอดเดรสท้องถิ่น กับแอดเดรสจริงที่จะติดต่อภายนอก วิธีการนี้เรียกว่า NAT = Network Address Translator

• ชื่อโดเมน (Domain Name) ความหมายโดยทั่วไป คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน

ชื่อโดเมน (Domain Name) หมาย ถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) ( IP Address นั้นจะได้จากที่เราทำการใช้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือ พื้นที่เว็บไซต์ ) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่อง ไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง หน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน

หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain name

1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ถือว่าเหมือนกัน
4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ Domain name แต่สามารถใช้ในระหว่างคำได้
5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อ Domain
6. การตั้งชื่อ Domain ควรสื่อ ถึงความหมาย ของเว็บไซต์เราให้มากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อ Search Engine ( SEO )

• หลักการตั้งชื่อ domain มีความสำคัญกับเว็บไซต์เรายังไง ?
• 1. การตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine ( SEO )
2. การตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine (SEO)

• รูปแบบการตั้ง Domain Name ตามหลักการของ Internet
• มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ
* โด เมนเนมสากล หรือ gTLD (generic Top-Level Domain Name) เป็นการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น .com, .net, .org สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
* โด เมนเนมประจำสัญชาติ หรือ ccTLD (country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดแบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ เช่น .th (ไทย) , .uk (อังกฤษ), .jp (ญี่ปุ่น), .เป็นต้น
2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็น Sub โดเมนที่แบ่งออกจาก TLD โดยอยู่ตำแหน่งถัดจาก TLD มาทางด้านซ้ายมือ เช่น .ac สำหรับสถาบันทางการศึกษา .co สำหรับองค์กรธุรกิจ
3. โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain เป็น Sub โดเมนที่ถูกแบ่งออกจาก SLD อีกชั้นหนึ่งและมีตำแหน่งถัดจาก SLD ทางด้ายซ้ายมือ ใช้เป็นชื่อย่อขององค์กร เช่น thaihostclub เป็นต้น
Social Network คืออะไร
Marketing Tips | 12:09 pm by เก่ง | 63 Comments
Social Network คือการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเ�� ทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น

�� าพประกอบโดย mandymaarten
สำหรับตัวอย่าง Social Network อื่น ๆ เช่น Hi5 หรือว่า Facebook ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ทำความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทำความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร
เมื่อหันมามองเว็บไซต์ไทย ๆ กันดูบ้าง หากมองว่าเว็บไซต์ Social Network ในไทย จะมีเว็บไหนได้บ้าง ลองดูเว็บไซต์ Social Network ที่มีความชัดเจนในเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น Social Network เรื่องท่องเที่ยว อย่างเว็บไซต์ odoza (โอโดซ่า) ที่ให้คนที่ชื่นชอบในเรื่องท่องเที่ยว ได้มาทำความรู้จักกัน ได้มีพื้นที่ให้ share รูป�� าพ หรือวีดีโอคลิป ที่ตนเองได้ไปเที่ยวมาได้่
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/index.html


วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Search Engine

เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป


สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)

1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%


นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่

- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำบล็อก


การทำบล็อก


>> แนะนำวิธีทำ Blog Mthai

    
วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการใช้งาน Blog Mthai กันครับ







ขอให้ทุกท่านสนุกกับ Blog Mthai บล็อกไทยพันธ์แท้ นะครับ...







โดยเมื่อท่านเข้ามายังหน้า Mthai Blog นะ จำต้อง Login ก่อนจึงจะเริ่มต้นสร้าง Blog
ได้ครับ ท่านที่ยังไม่ได้ login ก็สามารถ login ในหน้าหลักนี้ได้เลยครับ
ส่วนท่านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกก็ให้สมัครสมาชิกก่อนนะครับ

หลังจาก login แล้วท่านก็จะพบกับเมนูด้านล่างที่เปลี่ยนไป ครับ














กลับมาที่การสมัครเปิดใช้ Blog หลังจากที่คลิก สร้าง Blog ใหม่แล้ว
ในหน้าต่อมาจะมีหน้าต่างแจ้งรายละเอียด ของท่าน รวมทั้งให้กรอกชื่อ
Blog
ที่ท่านต้องการครับ จากนั้นก็ให้กดปุ่ม Check ก่อนนะครับ เพื่อตรวจสอบว่า มีใครใช้ Blog ชื่อซ้ำกับท่านหรือไม่



<> <> <> <>

ถ้าไม่ซ้ำก็จะมีข้อความแจ้งว่า ชื่อนี้สามารถใช้งานได้  ก็ให้กดปุ่ม
สร้าง
Blog ได้เลยครับ จากนั้นระบบก็จะจัดการสร้าง Blog ให้ และจะส่งคุณไปยังหน้าแรกของ Mthai Blog และจะปรากฏ รายชื่อ Blog ของคุณขึ้นมาในปุ่ม สร้าง Blog ใหม่



ก็ให้เลือก ที่ชื่อ blog ของคุณและกดปุ่ม จัดการ blog เพื่อเข้าสู่ Backoffice ของระบบ Blog ของคุณนั่นเอง


<> <> <>

TIP 
สำหรับท่านที่ใช้งาน Mthai มากขึ้นเรื่อยๆ
จะได้
Point เพิ่มขึ้นจาก การ login ใช้งาน mthai และการใช้งาน service ต่างๆ เช่นตอบกระทู้ หรือ ตั้งกระทู้ เมื่อท่านมีคะแนน หรือ Point
ถึงระดับหนึ่ง ท่านสามารถจะสร้าง Blog เพิ่มได้อีก










>> จัดการบล็อก


เมื่อคลิกเข้ามาที่แทป "จัดการ"

จะมีหัวข้อย่อยอีก 6 ข้อ ซึ่งจะค่อยๆบอกวิธีการใช้ทีละอันนะคับ



เมื่อคลิกเข้ามาที่คำว่า "blog"
-
ค้นหา หน้านี้จะแสดงบล็อกของเดือนปัจจุบัน
เอาไว้ใช้กลับไปดูของเก่าๆ ก็มาดูตรงนี้เอา เลือกจากหัวข้อต่างๆ เช่น หมวด
topic อีกทั้งยังมีรายละเอียดอื่นๆที่คอยแจงเราว่า

วัน ก็วันที่เขียนบล็อกนั่นแหละ
หัวข้อ
เราตั้งชื่อบล็อกไปว่าอะไรหล่ะ แนะนำ คลิกเพื่อแนะนำ
blog วันนี้
การโพส
เลือกสถานะการโพส การอ่าน เอ... อยากให้ใครอ่านบ้าง
หรืออยากอ่านคนเดียวก็ได้ การคอมเมนต์ กำหนดว่าคอมเมนต์ได้ทุกคน
หรือเฉพาะสมาชิกเท่านั้น หรืออาจปิดไม่ให้คอนเมนต์เลยก็ยังได้ แก้ไข
หากพอเราเขียนบล็อกเสร็จ เอาขึ้นโชว์และ พอมาดู อ้าว ลืมเขียนอันนี้มั่ง
เขียนตรงนี้ผิดมั่ง เราก็เข้าไปแก้ไข

ลบ
หากวันไหนเขียนบล็อกอารมณ์ดีไปหน่อยมา หากเบื่อหน้าบล็อกวันนั้นจะมีไว้ทำไม
มาลบทิ้งโลด นั่นแหละ ก็มาเลือกที่ลบซะ




เมื่อคลิกเข้ามาที่คำว่า "หมวด"

เราสามารถจัดการแบ่งหมวดหมู่ของบล็อกที่เราเขียนได้
โดยการเพิ่มหมวดในช่องทางซ้าย ใส่ชื่อหมวดเป็นภาษาอังกฤษ
แล้วกรอกรายละเอียดเล็กน้อย แล้วทำการบันทึกได้เลย




เมื่อคลิกเข้ามาที่คำว่า "ลิงค์โปรด"

จะมีหัวข้อต่างๆ ดังนี้

หมวดลิ้งค์
ชื่อหมวดของลิ้งค์และรายละเอียด


เพิ่มลิ้งค์
เพิ่มลิ้งค์ย่อยๆลงในหมวดที่ได้สร้างไว้


แก้ไขหมวด
แก้ไขชื่อ หรือรายละเอียดของหมวดลิ้งค์


ลบหมวด
ลบหมวดหลักของลิ้งค์


ลิ้งค์ย่อย
ลิ้งค์ย่อยๆทั้งหมดที่อยู่ในหมวดหลัก


วิธีการเพิ่มลิ้งค์ในหมวดหลัก

คลิกที่คำว่า "เพิ่ม" แล้วกรอก

ชื่อลิ้งค์,
URL
คือชื่อเว็บไซด์ เช่น http://www.mthai.com และรายละเอียด



เมื่อเราทำการบันทึกเสร็จก็จะมีชื่อลิ้งค์ อยู่ในลิ้งค์ย่อย
ดังรูป




Blog โปรด

จะมีหัวข้อต่างๆ ดังนี้

ชื่อ favorite ชื่อลิ้งค์ที่เรา favorite

url คือชื่อเว็บไซด์ เช่น http://www.mthai.com

ลบ
การลบลิ้งค์
fovorite

แก้ไข
แก้ไขชื่อ
Fovorite





วิธีการ add
favorrite blog

ไปที่หน้า blog ของเพื่อน ที่ใต้ปฎิทิน จะมี link เขียนว่า
Add to my favorite กด ได้เลยคับ